“วัดขุนอินทประมูล” เสน่ห์แห่งวัดพระนอนเมืองอ่างทอง

"วัดขุนอินทประมูล" เสน่ห์แห่งวัดพระนอนเมืองอ่างทอง

ไหว้พระวัดดัง “วัดขุนอินทประมูล” เสน่ห์แห่งวัดพระนอนเมืองอ่างทอง วันหยุดนี้พวกเรามีเป้าหมายคือจะเดินทางไปเที่ยวชม “โบสถ์ไฮเทค”

      วัดขุนอินทประมูล ดำเนินการจัดสร้างโดย พระครูวิเศษชัยวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดขุนอินทประมูล เป็นพระอุโบสถแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีทั้งลิฟต์และบันไดเลื่อน ไว้คอยบริการผู้ที่มีจิตศรัทธา

โดยใช้งบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น ๑๒๐ ล้านบาท มีทั้งหมด ๓ ชั้น ด้านล่างเป็นห้องโถงสำหรับจัดเลี้ยงอาหาร ตั้งโต๊ะจีนพร้อมกันได้ถึง๑๒๐ โต๊ะ

วัดขุนอินทประมูล  (16)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

     พระนอนวัดขุนอินทประมูล ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตรวันนี้เราเดินทางมาจาก อ. เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกว่าขับรถไม่นานครับ

วัดขุนอินทประมูล  (1)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง
วัดขุนอินทประมูล  (11)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

     สำหรับบริเวณของวัดนั้นยังมีชมซากปรักหักพังให้ได้เห็นอยู่เยอะพอสมควร

วัดขุนอินทประมูล  (17)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง
วัดขุนอินทประมูล  (22)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

     ซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป

วัดขุนอินทประมูล  (30)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

อีกหนึ่งไฮไลท์ของวัดครับ องค์พระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และ ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อยๆ ปี 

องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็น

วัดขุนอินทประมูล  (12)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

     ต้นไม้แห่งศรัทธา เพราะเมื่อเราได้ทำการกราบไหว้องค์พระนอนเสร็จแล้ว ก็ต้องนำผ้าสีเหลืองซึ่งใช้ในการพันก้าน ธูป เทียน มาผูกไว้ตรงต้นไม่ต้นนี้

วัดขุนอินทประมูล  (2)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

     มาดูกันต่อและภาพด้านล่างที่เราเห็นแหละครับ คือเป้าหมายในการเดินทางมาเยี่ยมชมในวันนี้ พระอุโบสถแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีทั้งลิฟต์และบันไดเลื่อน ไว้คอยบริการผู้ที่มีจิตศรัทธา มีทั้งหมด 3 ชั้น มูลค่าถึง 100 ล้านบาท

ส่วนของด้านในชั้น ๒ จะเป็นบริเวณประกอบพิธีทางศาสนา และมีองค์พระประธาน คือ พระพุทธมงคลจินดาพลบพิธไว้ให้ผู้มีจิตศรัทธานิยมมากราบไหว้ ขอพรจากองค์ท่าน

วัดขุนอินทประมูล  (5)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

      สำหรับภาพตรงฝาผนังพระอุโบสถนั้นเป็นการนำภาพของผู้มีจิตศรัทธาและได้ทำการบริจาคเงินเพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถมาวาดลงไป สวยงามมากครับ ภาพทุกภาพถูกวาดอย่างประณีต ละเอียดจริงๆ ส่วนนี้ต้องลองไปดูกันเอาเอง

วัดขุนอินทประมูล  (4)
วัดขุนอินทประมูล, อ่างทอง

     ส่วนที่บริเวณชั้น ๓ ของพระอุโบสถ จัดทำขึ้นสำหรับเป็นที่พักของพระผู้ใหญ่โดยเฉพาะและไม่เปิดให้ขึ้นชมครับ เป็นไงกันบ้างครับ สำหรับทริปไหว้องค์กระนอนและเยี่ยมชม “โบสถ์ไฮเทค” วัดขุนอินทประมูล

     หากใครเดินทางไปอ่างทองอย่าลืมไปเยี่ยมชมนะครับ รับรองได้ว่าวัดขุนอินทประมูล  เป็นอีกหนึ่ง LANDMARX (แลนด์มาร์ค) ของจังหวัดอ่างทอง!!

ประวัติความเป็นมาของ พระนอนวัดขุนอินทประมูล

     พระนอนวัดขุนอินทประมูล ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 2 เส้น 5 วา คือ 50 เมตร ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ พระนอนที่วัดบางพลีใหญ่กลาง จ. สมุทรปราการ สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร ซึ่งยาว 53 เมตร ส่วนพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ยาว 47 เมตร

     จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความชื่อที่ว่า ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปรารถนา

     จากการสันนิษฐานมีความเห็นว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพักตรหันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก เมื่อมองตลอดทั้งองค์มีความสง่างามมาก พระพักตรงดงามได้สัดส่วน แสดงออกถึงความมีเมตตา

     ปัจจุบัน องค์พระนอนอยู่กลางแจ้งไม่มีวิหารคลุมเช่นพระนอนองค์อื่น เนื่องจากวิหารเดิมคงหักพังไปนานแล้ว ดังจะเห็นได้จาก เสาพระวิหารที่ยังปรากฏอยู่รอบองค์พระนอน รอบ ๆ องค์พระมีต้นไม้ขนาดใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่โดยรอบ ทำให้มีความสงบร่มเย็น เหมาะแก่การไปนมัสการให้เกิดความสุข สงบ ตามธรรมชาติ ซึ่งแปลกออกไปจากบรรยากาศในพระวิหาร

     ไม่พบว่ามีการนมัสการประจำปี อาจจะเนื่องจากอยู่ที่วัดร้างกลางทุ่งนา ห่างไกลจากชุมชนมาก

     การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สายคือ สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๖๔) แยกขวาที่กิโลเมตร ๙ เข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ ๖๔–๖๕ จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก ๒ กิโลเมตร

ภาพโดย: Saravut Naipreedee ข้อมูลจาก: th.wikipedia.org