ขอพรพระพิฆเนศองค์โต @วัดสมานรัตนาราม

ขอพรพระพิฆเนศองค์โต @วัดสมานรัตนาราม

ปกติจะเดินทางไปไหว้ “หลวงพ่อโสธร” ที่จังหวัดฉะเชิงเทราปีะละครั้งอยู่แล้ว แต่ปีนี้พิเศษกว่าเพราะจะมีการแวะไปไหว้ พระพิฆเนศ วัดสมานรัตนาราม กันด้วยได้ยินมานานแล้ว แต่ไม่ได้ไปใหว้สักที คราวนี้พอมีเวลาเหลือ เลยตั้งใจว่าจะไปกัน

300

ซึ่งก็ต้องออกจากกรุงเทพไวหน่อย จากกรุงเทพมาฉะเชิงเทราได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางกรุงเทพ-มีนบุรี หรือเส้นทางมอเตอร์เวย์ สะดวกทั้งสองเส้นทาง ขับรถไม่นานก็ถึงวัด แต่โปรแกรมของคนส่วนใหญ่จะนิยมไปใหว้  “หลวงพ่อโสธร” ก่อน และจึงจะเดินทางไปไหว้ พระพิฆเนศ ต่อ

วัดสมานรัตนาราม เป็นวัดที่มีองค์พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สูง ๑๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร เนื้อชมพู เป็นพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะกึ่งนั่งนอนตะแคง โดยพระหัตถ์ซ้ายถืองาที่หัก พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว

โดยรอบฐานมีพระพิฆเนศ ๓๒ ปาง ให้ได้ขอพรสักการะ ความหมายของพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข คือ ความสุขสบาย ความสุขบริบูรณ์มั่งคั่งพร้อมทุกด้าน รื่นรมย์ ไร้ทุกข์ ไร้ความเศร้าหมอง อิ่มหนำสำราญ มีกิน มีโชคลาภ จะนำความความสุขสบายมาสู่ผู้บูชา ถือเป็นมหามงคล

วัดสมานรัตนาราม (6)

โดยการขอพรก็สามารถทำได้โดย ขอพรผ่าน หนูมุสิกะ ผู้เป็นบริวาร ซึ่งที่วัดสมานรัตนาราม ถูกสร้างขึ้นหน้าฐานองค์พระพิฆเนศ เป็นรูปปั้นหนูสองตัว ยืนทำมือป้องหูไว้ ทำให้เกิดความเชื่อว่า ถ้าอยากขอพรสิ่งใดให้สมหวัง ต้องไปกระซิบที่หูหนู แล้วหนูจะนำความไปบอกท่านพระพิฆเนศทราบ และคำขอพรจะสัมฤทธิ์ผล

วัดสมานรัตนาราม (7) วัดสมานรัตนาราม (5)

มีเคล็ดลับมาฝากนิดหน่อยระหว่างที่เรากระซิบขอพร หนูมุสิกะ นั้นอย่าลืมปิดหูอีกฟากของท่านด้วย เพราะจะได้ป้องกันพรที่เข้าหูซ้าย ไปละทุหูหขวา ตามความเชือนั้นเอง!!

วัดสมานรัตนาราม (8)

ที่จอดรถกว้างขวางค่ะ เสร็จแล้วต้องเดินผ่าน…พระราหูองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นี่ก็ใหญ่ที่สุดอีกเหมือนกัน

ประวัติวัดสมานรัตนารามโดยสังเขป

วัดสมานรัตนาราม (ใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร)  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง บ้านหมู่ที่ ๑๑ ตำบลบางแก้ว(ตำบลไผ่เสวกเดิม)  อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และใกล้กับโครงการเขื่อน  ทดน้ำบางปะกง  มีเนื้อที่ ตามหน้าโฉนดที่ตั้งวัด ๒๖ ไร่ ๓งาน ๕๐ ตารางวา (ที่ดินนอกวัดไม่มี) ตามคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยนั้นเล่าสืบกันต่อกันมาว่ามีครอบครัวหนึ่งอยู่ในฐานะมั่นคง เป็นคหบดีมีคนเคารพนับถือ คือครอบครัวท่านขุนสมานจีนประชา (เดิมชื่อจ๋าย) เมื่อท่านขุนสมานจีนประชาถึงแก่กรรมแล้ว

วัดสมานรัตนาราม (9)

ภรรยาทั้ง ๒ ของท่านขุนสมานจีนประชา  นางทิม สืบสมาน และ นางผ่อง  สืบสมาน(เพิ่มนคร ) พร้อมด้วย นางยี่สุ่น วิริยะพานิช (ผู้เป็นน้องสาว ต่อมาภายหลังได้สร้างพระปรางค์ขึ้นหน้าโบสถ์  ปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่)  มีความศรัทธาคิดจะสร้างวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สามีผู้ล่วงลับ   จึงได้ดำเนินการสร้างวัด ปรากฏตามหลักฐาน เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒ (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕)  ทรงเสด็จทางชลมารค์ผ่านมาได้ทรงแวะเยี่ยมวัดและได้มีชาวบ้านผู้หนึ่ง ชื่อ นายเหว่า  โพนสุวรรณ์ นำนกกวักเผือกถวาย ณ ที่วัดแห่งนี้ด้วย)

วัดสมานรัตนาราม (3)

เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า  วัดใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร   เป็นวัดราษฎ์ คณะสงฆ์ปกครองวัดสมัยนั้นเป็นฝ่ายมหานิกาย  แต่ปกครองไม่นานนัก ผู้สร้างวัดได้ถวายพระในคณะธรรมยุตมี  พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโพ) เป็นประธานสงฆ์ในการรับถวายนี้

ชาวบ้านโดยทั่วไปมักเรียกวัดนี้ว่าวัดใหม่ขุนสมานมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อเวลาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  เสด็จออกตรวจสังฆมณฑลทางเรือตามลำแม่น้ำบางปะกง  พระองค์ได้ขึ้นทรงเยี่ยมวัด ทรงเห็นป้ายชื่อวัดว่าไม่สอดคล้องกับตำบลไผ่แสวก พระองค์จึงทรงประทานนามวัดเสียใหม่ว่า วัดไผ่แสวก เพื่อให้สอดคล้องกับตำบลดังกล่าวแล้ว

วัดสมานรัตนาราม (2)

ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมานานหลายสิบปี ทางราชการได้ยุบตำบลไผ่แสวกไปรวมกับตำบลบางแก้ว เมื่อเป็นเช่นนี้  มีพระเถระผู้ใหญ่พร้อมด้วยภิกษุสามเณรชาวบ้านอุบาสกอุบาสิกาต่างก็มีความเห็นพร้องกันว่าสมควรที่จะเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่  คือให้มีชื่อคำว่าสมาน เพราะเป็นตระกูลที่สร้างวัดและคำว่าแก้ว เพื่อให้สอดคล้องกับตำบล  

วัดสมานรัตนาราม (1)

จึงขออนุญาตทางราชการตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่าวัดสมานรัตนาราม  มาจนทุกวันนี้  วัดแห่งนี้ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ  ญาณวรเถร)วัดเทพศิรินทราวาสได้ทรงมาเป็นพระอุปัชฌาย์  อุปสมบทบุตรหลานชาวบ้านอยู่หลายครั้ง  

การเดินทาง

จากเส้นบางนา-ตราด มุ่งหน้าเข้าทางฉะเชิงเทรา ผ่านโตโยต้า บ้านโพธิ์ พอเจอสามแยกไฟแดงใหญ่ ให้เลี้ยวซ้ายไปทางบางคล้า ขับตรงยาวไปเรื่อยๆจนข้ามแม่น้ำบางปะกง จากนั้นพอถึง เขื่อนทดน้ำบางปะกง ให้เลี้ยวเข้าซอยวัดจุกเฌอ ขับไปเรื่อยๆ ก็เจอป้ายบอกทางเข้า วัดสมานรัตนาราม ทางซ้ายมือ

ขอบคุณที่มาของภาพประกอบ: FB 108 1009 คนทำทัวร์

ทีมงาน พาไป.คอม