พาไปชมความงาม MRT เปิดใหม่ทั้ง 4 สายซึ่งสวยที่สุดในประเทศไทย

พาไปชมความงาม MRT เปิดใหม่ทั้ง 4 สายซึ่งสวยที่สุดในประเทศไทย

พาไปชมความงานของ สถานนีรถใต้ดินใหม่ทั้ง 4 สาย

ไฮไลท์ของการเดินทางในครั้งนี้คือการนั่งรถไฟจากสถานีสนามไชย ฝั่งพระนคร ไปสถานีอิสรภาพ ฝั่งธนบุรี เป็นช่วงที่ทุกคนตื่นเต้น เพราะรู้ว่า กำลังมุดอยู่ใต้แม่น้ำเจ้าพระยา

ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้ กว้าง 200 เมตร ลึก 20 เมตร อุโมงค์ของรถไฟฟ้าใต้ดินไม่ได้อยู่ในแม่น้ำ แต่อยู่ใต้ก้นแม่น้ำลึกลงไปใต้ผิวดินของแม่น้ำอีก 10 เมตร

แม้จะมองไม่เห็นอะไร แต่ก็ตื่นเต้นดี เป็นผลงานการก่อสร้างของ ช.การช่าง …ในอนาคตถ้าเราสามารถทำเป็นอุโมงค์แบบใสๆ แบบอยู่ในน้ำได้ก็น่าจะดี เวลารถไฟผ่านจะได้ทักทายฝูงปลา

“สถานีอิสรภาพ”

สถานีอิสรภาพ (5)
สถานีอิสรภาพ (4)
สถานีอิสรภาพ (3)
สถานีอิสรภาพ (2)
สถานีอิสรภาพ (1)

การออกแบบได้แรงบันดาลใจมาจากหงส์ สัญลักษณ์ของวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมัยกรุงธนบุรี ภายในชั้นออกบัตรโดยสาร จะมีภาพหงส์ ทำจากแผ่นอะครีลิคสีทองและใส ฉลุลายซ้อนทับกัน ทำให้เกิดมิติ สถานีอิสรภาพ เป็นสถานีรถไฟใต้ดินสถานีแรกที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี เมื่อออกจากตัวสถานี ได้บรรยากาศแบบบ้านสวน บ้านไม้เก๋ๆ ของฝั่งธนบุรีมีเสน่ห์ดีค่ะ

“สถานีสนามไชย”

สถานีสนามไชย (1)
สถานีสนามไชย (2)
สถานีสนามไชย (3)
สถานีสนามไชย (4)
สถานีสนามไชย (5)
สถานีสนามไชย (6)
สถานีสนามไชย (7)

ผลงานการออกแบบตกแต่งภายในโดยศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี โทนสีแดงชาด สีทอง ลายไทยหลากหลายรูปแบบ ทำให้ชั้นออกบัตรโดยสารของสถานีสนามไชย เป็นท้องพระโรงสวยงาม มีทั้งเสาสดมภ์ ลายกระเบื้องดอกพิกุล ปลายเสาเป็นบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมา เพดานเป็นลายฉลุดาวล้อมเดือน ให้บิวด์อารมณ์ก่อนออกไปชมวัดพระแก้ว สนามหลวง วัดพระเชตุพนฯ ปากคลองตลาด ฯลฯ

“สถานีวัดมังกร”

สถานีวัดมังกร (1)
สถานีวัดมังกร (2)
สถานีวัดมังกร (3)
สถานีวัดมังกร (4)
สถานีวัดมังกร (5)
สถานีวัดมังกร (6)
สถานีวัดมังกร (7)
สถานีวัดมังกร (8)

ต่อไปนี้การเดินทางไปกินย่านเยาวราชจะเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกที่สุด เนสกาแฟรวดเร็วมาก ผสานงานศิลปะแบบจีนเข้ากับงานโฆษณาได้สวยงามกลมกลืนเข้ากับสถานี บริเวณชั้นออกบัตรโดยสาร ไฮไลท์อยู่ที่มังกร บนเพดานหน้าตู้ขายตั๋วอัตโนมัติ ทางขึ้นลงออกแบบให้เป็นเหมือนท้องมังกร โดยใช้มิติของแสงและเงาเข้าช่วย ตัวสถานีด้านนอกก็สวยกลมกลืนเข้ากับย่านเยาวราช ลากอารมณ์จากด้านในมาต่อด้านนอกได้ดี ออกจากสถานีก็เจอตลาดเยาวราช

“สถานีสามยอด”

สถานีสามยอด (1)
สถานีสามยอด (2)
สถานีสามยอด (3)
สถานีสามยอด (4)
สถานีสามยอด (5)
สถานีสามยอด (6)
สถานีสามยอด (7)

ออกแบบย้อนยุคเป็นงานสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ทางเข้าและออกตัวสถานีออกแบบเป็นประตูบานเฟี้ยม ชั้นออกบัตรโดยสาร ตู้ขายตั๋วเป็นซุ้มประตูสามยอด มีภาพในประวัติศาสตร์ของย่านสามยอด ตกแต่งตามผนัง การเดินทางไปซื้อผ้าสำเพ็ง ไปเจอเพื่อนๆรุ่นใหญ่วัยเก๋าที่ดิโอลด์สยามพลาซ่า ไปบ้านหม้อและศาลาเฉลิมกรุง ก็จะเป็นเรื่องง่ายๆ

ใครจะเชื่อว่าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะกลายเป็นแหล่งงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและสวยงามให้เราได้แวะเวียนมาชมและสัมผัสกัน

ขอบคุณที่มาของภาพและรีวิวการเดินทาง : Prathana D Chaiprasert  ตามรอยการเดินทางทั้งหมดได้ที่เพจ :  เที่ยวชิล วิวไป