พาชม “อุทยานราชภักดิ์” หัวหินสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่

พาชม “อุทยานราชภักดิ์” หัวหินสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่

พาชม “อุทยานราชภักดิ์” หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (กษัตริย์ทรงทำให้ ไทได้เป็นไทย อย่างทุกวันนี้) อุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์แแห่ง สยาม 7 พระองค์

สำหรับวันนี้ทางทีมงาน Paapaii.com ขอพาเพื่อนๆ ไปสัมผัสความยิ่งใหญ่ของสถานที่แห่งนี้ ผ่านภาพถ่ายของคุณ A Teerawat Khomhan ที่ได้อนุญาตให้เรานำภาพมาให้ได้ดูกัน อีกอย่างนะครับหากใครต้องการเก็บภาพสวยๆ ผมขอแนะนำว่าให้ไปในช่วงเช้าครับ

11903784_1193605497323084_1900285838166053110_n
อุทยานราชภักดิ์

สำหรับ “อุทยานราชภักดิ์”  นั้นเกิดขึ้นได้ด้วน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม” พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์

อุทยานราชภักดิ์.2
พระบูรพกษัตริย์แห่งสยามทั้ง 7 พระองค์ (อุทยานราชภักดิ์)
อุทยานราชภักดิ์
พระบูรพกษัตริย์แห่งสยามทั้ง 7 พระองค์
อุทยานราชภักดิ์1
อุทยานราชภักดิ์

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์” ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ๗ พระองค์ ได้แก่

๑.พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)

๒.สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)

๓.สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)

๔.สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)

๕.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

๖.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

๗.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

ซึ่งทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ

พื้นที่และกรอบแนวคิดการจัดสร้าง  กองทัพบก จะดำเนินการจัดสร้าง อุทยานราชภักดิ์ ภายในพื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๒๒๒ ไร่เศษ ซึ่งองค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์ จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ จำนวน ๓ ส่วนหลัก ประกอบด้วย

ส่วนที่ ๑ : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ โดยพิจารณาเลิอกพระมหากษัตรย์แต่ละยุคสมัยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ชึ่งพระนามแต่ละพระองค์เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้พื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ โดยรูปแบบของพระบรมราชานุสาวรีย์ จะจัดสร้างในลักษณะพระอิริยาบถทรงยืน ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน ๑๓.๙ เมตร หล่อด้วยโลหะสำริดนอก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (สมัยกรุงสุโขทัย)
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (สมัยกรุงสุโขทัย)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมัยกรุงธนบุรี)
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมัยกรุงธนบุรี)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “สมเด็จพระปิยมหาราช” (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

ส่วนที่ ๒ : ลานอเนกประสงค์ มีเนื้อที่ประมาณ ๙๑ ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ

ส่วนที่ ๓ : อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้า รวบรวม และจัดทำพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะดำเนินการจัดสร้างบริเวณด้านล่างของฐานพระบรมราชานุสาวรีย์

พื้นที่ส่วนที่เหลือจำนวน ๑๒๖ ไร่ จะเป็นสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก

ต้องบอกว่าของจริงมันยิ่งใหญ่มากครับ แต่ละพระองค์ได้ถูกบรรจงสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างปราณีตที่สุด  เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ของหัวหินครับ

 

ขอบคุณที่มา: www.rta.mi.th/RTAweb/pageinfor/weppage.html

ขอบคุณที่มาของภาพประกอบ:  คุณ A Teerawat Khomhan